วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นกล้า

เรามาสร้างภูมิกันโรคให้กับต้นกล้า แบบญี่ปุ่นกันเถอะ



“ต้นไม้ผมเป็นโรคอะไรครับอาจารย์” อ๋อเป็นโรครากเน่าโคนเน่าครับ เป็นโรคราใบจุด แอนแทรกโนสครับ แล้วรักษาอย่างไรล่ะครับอาจารย์ ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผมเป็นที่ปรึกษาเกษตรกร คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ผมได้ยินและคอยตอบปัญหาอยู่เสมอ 

เกษตรกรในประเทศไทยเน้นการรักษาโรคโดยการแก้ปัญหาทีปลายเหตุ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรสูงมาก ติดหนึ่งใน 5 ของโลกเลยทีเดียว

ปี 2544 ผมได้รู้จักกับชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่ง ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร ท่านได้มาเที่ยวเมืองไทยและได้รู้จักกับผมโดยบังเอิญ ท่านได้ให้ความกรุณาเล่าให้ผมฟังเกี่ยวกับการทำการเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะฮ็อกไกโด

ท่านบอกว่าเมื่อก่อนประเทศญี่ปุ่นการทำการเกษตรก็ล้มลุกคลุกคลานเหมือนกับในประเทศไทยการทำการเกษตรแบบเน้นการรักษาโรค แต่ปัจจุบันการเกษตรญี่ปุ่นได้พัฒนาแบบก้าวกระโดดข้ามขั้นไปแล้ว นั่นคือ การการทำเกษตรแบบเน้น การป้องกันโรคพืชแทนการรักษ

ญี่ปุ่นเน้นการเพาะต้นกล้าก่อนปลูกลงแปลง แล้วสร้างภูมิคุ้มกัน
โรคให้กับต้นพืช ตั้งแต่เป็นเป็นต้นกล้าอยู่ในโรงเรือน หรือที่เรียกกันติดปากว่า Beginning Resistant (การสร้างภูมคุ้มกันโรคพืชตั้งแต่ในโรงเรือน)

การสร้างภูมิกันให้กับต้นพืชตั้งแต่ในโรงเรือนจะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง ไม่เป็นโรคง่ายเมื่อปลูกลงสู่แปลงปลูกจริง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายการปลูกพืชได้อย่างมากมาย การสร้างภูมิคุ้มกันเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะต้นกล้า ไปจนถึง การฉีดพ่นสารที่เพิ่มการเจริญเติบโตและการฉีดพ่นสารสร้างภูมิคุ้มกันให้ต้นพืช

นักวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตรชาวญี่ปุ่นบอกผมว่า การเพาะต้นกล้าที่ดีที่สุดคือการเพาะต้นกล้าแบบเลียนแบบธรรมชาติต้องให้ต้นกล้าค่อย ๆ โต โดยไม่มีการใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือปุ๋ยแอมโมเนีย(21-0-0) เข้าไปกระตุ้นการเจริญเติบโ

เพราะปุ๋ยยูเรีย และแอมโมเนีย จะทำให้ต้นกล้าโตเร็ว แต่ผนังเซลล์บาง ต้นกล้าจะสูงชะลูดแต่ไม่แข็งแรงและทำให้เป็นโรคได้ง่าย ผมเลยถาม ดร.ชาวญี่ปุ่นว่า คนไทยใจร้อนอยากให้ต้นกล้าโตไวไวได้ดั่ง จะทำอย่างไรดีครับ
ดร.ชาวญี่ปุ่นตอบว่า เราก็มาใช้กรดอะมิโน แทนปุ๋ยยูเรียและแอมโมเนียแทน กรดอะมิโนจะทำให้ต้นกล้าโตเร็วแต่ไม่อ่อนแอ

แล้วเราจะทำให้ต้นกล้าที่เราเพาะมีภูมิคุ้มกันโรคได้อย่างไรครับ เราก็เพิ่มธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชบางตัวที่ไป กระตุ้นการทำงานระดับ จีโนไทป์ (Genotype) เช่น ซิงค์(Zinc) ซิลิกอน(Silicon) แคลเซียม (Calcium) ฯลฯ รวมถึง การใช้ฮอร์โมนพืชกลุ่มไซโตไคนิน ที่สกัดจากสาหร่ายทะเล มาใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นพืช ดร.ชาวญี่ปุ่นตอบ

ผมได้ทำการศึกษาทดลอง เพื่อศึกษาค้นวิจัยตามที่ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นบอกโดยผมเริ่มทำการทดลองกับต้นกล้ามะละกอและพริกเหลืองพัทลุง ผลการทดลองวิจัยของผมล้มลุกคลุกคลานครั้งแล้วครั้งเล่า

ทุกครั้งที่งานวิจัยผมล้มเหลว ผมก็มักได้รับกำลังใจจากแม่เสมอ แม่บอก
ว่า ผมกำลังเดินทางเข้าใกล้ความจริงไปทุกขณะ แล้วซักวันหนึ่งผมจะต้องสำเร็จ ผมบอกกับตัวเองว่า ผมจะต้องสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับต้นกล้ามะละกอ และ ต้นกล้าพริกเหลืองพัทลุงให้สำเร็จให้จงได้

แม่บอกว่า ล้มเหลวไม่มี มีแต่ล้มเลิก ถ้าผมไม่ล้มเลิกเสียก่อน ซักวันหนึ่งผมต้องสำเร็จอย่างแน่นอน ทำไมผมจึงเลือกทำกับต้นกล้ามะละกอ ก็เพราะว่าเป็นพืชที่ผมชอบปลูกและชอบกิน ส่วนต้นกล้าพริกเหลืองพัทลุงเป็นพืชที่แม่ผมชอยปลูก ผมอยากให้แม่ผมปลูกพริกเหลืองพัทลุงโดยไม่เป็นโรค

7 ปีผ่านรวดเร็ว มันผ่านไปพร้อมกับเส้นผมสีขาว ที่ขึ้นแซมผมดำของตัวเอง และผมสีขาวทั้งหัวของแม่ผม สุดท้ายสองแม่ลูกก็ยิ้มด้วยความภาคภูมิใจว่าเราทำสำเร็จแล้ว เมื่อผมคิดค้น สารสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช ในระดับต้นกล้าได้สำเร็จ ผมตั้งชื่อมันว่า “กาโร”

ผมได้ใช้กาโรกับต้นกล้ามะละกอ ทำให้มะละกอของผมแข็งแรงและไม่เป็นโรคไวรัสด่างวงแหวน

แม่ผมได้ใช้กาโรกับต้นกล้างพริกเหลืองพัทลุง ปรากฎต้นกล้าแข็งแรงไม่เป็นโรค ต้นกล้าโตเร็ว แม่เลยมายึดอาชีพเพาะต้นกล้าพันธุ์พริกเหลืองพัทลุงขาย เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอาชีพ

กาโร เป็นสารตัวช่วยพืช ไม่ใช่ปุ๋ย ไม่ใช่ฮอร์โมนพืช แต่เป็นเป็นอาหารเสริมสำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับโรคพืชในระดับต้นกล้า กาโร ประกอบด้วย กรดอะมิโนบางชนิด ธาตุอาหารเสริมบางชนิด เช่น ซิงค์ ซิลิกอน แคลเซียมฯลฯ ที่ไปกระตุ้นการทำงานในระดับเซลล์พืช(ชั้นไมโตคอนเดรีย) ทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้เร็วและแข็งแรงไม่เป็นโรค

วิธีการใช้ ใช้กาโร 5 ซีซี.ผสมน้ำ 1 ลิตรแช่เมล็ดพันธุ์พืชก่อนเพาะลงถาดหลุมหรือลงถุงเพาะต้นกล้า จากนั้น เมื่อต้นกล้าออกออกใบจริงประมาณ 4-5 ใบก็ให้ ใช้กาโร 5 ซีซีผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้เป็นละอองฝอยให้กับต้นกล้าทุก 5 วัน ให้กับต้นกล้า

การโร ใช้ได้กับต้นกล้าทุกชนิด ทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นชนิดต่าง ๆ

กาโร จัดจำหน่ายแล้ว โดยชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า ราคาผลิตภัณฑ์ 300 บาท ค่าจัดส่ง ems 50 บาท

สนใจผลิตภัณฑ์คุณภาพ ติดต่อ ชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า โทร 086-059-6790
หมายเลขบัญชีการชำระค่าสินค้า
123-2-45945-6 ธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์
ชื่อบัญชี นายประยงค์ แก้วหมุน ประเภท ออมทรัพย์
การจัดส่งสินค้า จัดส่งผ่านไปรษณีย์ Ems ใช้ระยะเวลา 1-3 วัน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

การเลี้ยงไส้เดือนแบบเลียนแบบธรรมชาติ

การเลี้ยงไส้เดือนดิน แบบเลียบแบบธรรมชาติ


เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วนะครับว่า ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินเป็นสุดยอดแห่งปุ๋ยสำหรับพืช เกือบทุกชนิด เพราะนอกจากในมูลไส้เดือนดินจะมี ธาตุอาหารพืช (N P K) ที่ครบถ้วนแล้ว ในมูลไส้เดือนยังมีฮอร์โมนต่าง ๆ ที่พืชต้องการอีกหลายชนิด

ผมเองเป็นบุคคลหนึ่งที่ให้ความสนในในเรื่องการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน ผมได้ไปเรียนรู้ฝึกอบรมจากสถานที่ต่าง ๆ มาแล้วมากมาย รวมถึงการฝึกอบรมการเลี้ยงไส้เดือนดินจากอาจารย์ภาควิชาสัตวบาลแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

ทุกอาจารย์สอนดีหมดครับ ทุกอาจารย์เก่งหมดครับ แต่ผมมันไม่ดีเองครับ เป็นคนขี้เกียจ ไม่ค่อยได้เอาใจใส่ เลี้ยงทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เลี้ยงกี่ครั้งกี่หน ปรากฏว่า ไส้เดือนดินผมตายหมดยกคอกทุกทีครับ ผมเคยเลี้ยงในวงบ่อบ้าง เลี้ยงในกะละมังบ้าง เคยเลี้ยงแบบทำโรงเรียนเป็นฟาร์มเลยก็มี กะทำให้รวยไปเลย




แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก การเลี้ยงไส้เดือนดิน เราต้องคอยเอาใจใส่เรื่องอาหาร เรื่องความความชื้น เรื่องความเป็นกรดเป็นด่างของบัดดิ้ง(บ้านไส้เดือน) และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง ซึ่งผมทำไม่ค่อยได้เนื่องจากผมขาดความเอาใจใส่อย่างจริงจัง


จนอยู่มาวันหนึ่งผมไปเจอกอกล้วยหลังบ้านที่ผมเลี้ยงไส้เดือน ที่โคนกล้วยมีใบกล้วยที่ตายแล้วกองอยู่หนาแน่น ผมเลยเอามือไปคุ้นดูปรากฏว่า ไส้เดือนพันธ์ที่ผมเลี้ยงมันอยู่กันเต็มไปหมด ไอ้หย่า พวกมันมาอยู่ที่นี่กันได้อย่างไร ในเมื่อผมไม่ได้เลี้ยงมัน เลี้ยงมันในโรงเรือนมันตายหมด แต่มันมาอยู่รวมกันในกอกล้วย

จากนั้นผมจึงทำการศึกษาการเลี้ยงไส้เดือนดินในกอกล้วยแล้วนำมาดัดแปลงการเลี้ยงในแบบโรงเรือน ซึ่งผมใช้ชื่อมันว่าการเลี้ยงไส้เดือนดินแบบเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งจะนำเสนอให้พี่ ๆ น้อง ๆ รับชมดังไปนี้ครับ
วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินแบบเลียนแบบธรรมชาติ

การจัดเตรียมโรงเรือน
ขนาดของโรงเรือนแล้วแต่ความสะดวก ตามความต้องการของปริมาณมูลไส้เดือน ของผมทำต้องการมูลไส้เดือนเยอะ ผมทำใหญ่เลย แต่ทำแบบประหยัด 
ของผมใช้โรงเรือนขนาด 12x6 เมตร ทำแบ่งออกเป็น 2 ช่องเลี้ยง ครับ




การทำบ่อเลี้ยง


ใช้อิฐก่อแล้วฉาบ ทำพื้นให้เอียง ให้ไส้น้ำไหลลงได้เอง หัวกับท้ายสูงไม่เท่ากัน


การเตรียมบ้านและอาหารสำหรับไส้เดือนเดือน


1.    ให้ใช้หญ้าที่รก ๆ บริเวณแถวบ้านใส่บ่อเลี้ยงให้เต็ม
2.    จากนั้นให้ใส่ขี้วัวทับความหนาประมาณ 20-30 เซนติเมตร เกลี่ยให้ทั่วทั้งบ่อเลี้ยง  1 บ่อใช้ขี้วัวประมาณ 100 กระสอบครับ

3.    นำจุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลส ไวท์อีเอ็มผสมน้ำ 200 ลิตร ใส่บัวรดน้ำราดให้ทั่ว



4.    รดน้ำทุก ๆ วันเช้าเย็น ประมาณ 2 สัปดาห์  อาหารไส้เดือนก็ไช้ได้
เมื่อครบ 2 สัปดาห์ หญ้าจะยุบลงเหลือครึ่งหนึ่ง


 การปล่อยตัวไส้เดือนดิน


1.    ใน 1 บ่อจะใช้ไส้เดือนประมาณ 5 กิโลกรัม ผมใช้พันธุ์แอฟริกัน บลูเวิร์ม ให้เราปล่อยตัวไส้เดือนให้กระกระจาย ทั่วทั้งบ่อเลี้ยง จากนั้น
2.    ให้อาหารคือเปลือกแตงโมสับเป็นชิ้น ๆ  เน้นแตงโมเพราะมันเย็น ไส้เดือนจะชอบครับ
3.    ให้ใช้ใบกล้วยแห้ง หรือ ใบกล้วยสด ๆ ก็ได้ครับ สับ ๆ แล้วโรยทับ ทำให้เหมือนไส้เดือนอยู่ในกอกล้วย
นะครับ









การให้น้ำ


ติดตั้งระบบน้ำ เป็นแบบหัวพ่นหมอกเพื่อเปิดน้ำให้ฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งบ่อ ให้น้ำ วันเว้นวัน อย่าให้น้ำแฉะไส้เดือนไม่ชอบ.

การให้อาหาร

เนื่องจากตอนเราทำบ้านให้ไส้เดือนเราใช้หญ้า มันเป็นอาหารที่เพียงพออยู่แล้ว เพื่อให้ไส้เดือนเจริญเติบโตเร็ว ให้เราอาหารเสริมจากครัวเรือน เช่น เศษผัก เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ยกเว้นเปลือกมะนาวไส้เดือนไม่ชอบครับ แต่เปลือกไข่ใช้ได้ครับ  หรือไม่ก็ เอาพวกยอดหญ้า ยอดไม่สด ๆ ยอดหญ้าเลี้ยงสัตว์ใส่ลงไปบ้างครับ  แล้วแต่เวลาและโอกาสครับ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

     ใช้ตะแกรงร่อนเอามูลไส้เดือนเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นตัวไส้เดือนดินเราก็แยกไปเลี้ยงในบ่อที่สองครับ หลังจากนั้นเราก็นำไปบรรจุกระสอบเพื่อเก็บไว้ใช้ในแปลงปลูกพืช หรือ ทำการบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายต่อไป




มูลไส้เดือนหลังจากที่ร่อนแล้ว



ทำแค่นี้แหละการเลี้ยงไส้เดือนดินแบบเลียนแบบธรรมชาติก็สำเร็จแล้วนะครับ บรรจุถุงพร้อมจำหน่ายได้แล้ว

ใครสงสัยอะไรสอบถามได้ครับ  กำลังหาทุนอยู่ อีกไม่นานจะจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรที่สนใจฟรีครับ

สอบถามเรื่องการเพาะเลี้ยงไส้เดือนแบบเลียนแบบธรรมชาติ ได้ที่ชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า

- ต้องการศึกษาดูงานการเลี้ยงไส้เดือนแบบเลียนแบบธรรมชาติ 
-ต้องการมูลไส้เดือน 
-ต้องการพันธุ์ไส้เดือนไปเพาะเลี้ยง ติดต่อได้ที่

  นายสถาพร วันเทวิน(เก่ง)
210/1 ม.14 ต.คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา 24160 tel.0864630075 Id line : kengnoy_tu

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ต้นไม้ยามเล็กต้องดูแลเขา โตขึ้นเขาจะดูแลเรา

ต้นไม้ยามเล็กต้องดูแลเขา โตขึ้นเขาจะดูแลเรา


มีคนถามผม ทำไมอาจารย์ปลูกพืชอะไร เห็นมันโตมันงามดีจัง ทำไมพืชที่ปลูกเองที่บ้านไม่งามเหมือนของอาจารย์เลย ปุ๋ยก็ใส่ตามสูตรที่เขาแนะนำ น้ำก็รดสม่ำเสมอ ทำไมมันไม่ค่อยโต

ดูอย่างมะละกอก็ได้บ้านอาจารย์ไม่เห็นเป็นโรคอะไรเลย ทำไมที่บ้านหนูตอนแรกมันโตดีจัง ไม่กี่เดือนโรคก็กินตายหมด มะเขือก็เหมือนกัน มะละกอตายหนูก็ไปลงทุนปลูกมะเขือ มะเขือเก็บได้รอบเดียวใบเหลืองด่างหมดเลย

มาบ้านอาจารย์เห็นมะเขือต้นเดิมยังอยู่เลย ไม่เห็นมันเป็นโรคอะไรเลย ทำไมของหนู มันมีแต่โรคปลูกไม่กี่เดือนมันก็ยืนต้นตายหมด
มะนาวบ้านอาจารย์มาทีไรเห็นลูกดกเต็มต้นไปหมดไม่เห็นมันดอกร่วง ลูกร่วง โดนแมลงหนอนกินเหมือนบ้านหนูเลยถามจริง ๆ เถอะใส่ปุ๋ยอะไร

ผมยิ้ม(ขอบคุณที่ชม) แล้วตอบว่า ใส่ปุ๋ยความรัก ถ้าเรารักใครสักคนเราต้องหาคำตอบให้ได้ว่า เขาชอบอะไร เขาไม่ชอบอะไร เขามีพฤติกรรมแบบไหน

ปลูกพืชก็เช่นกัน ต้องศึกษาถึงธรรมชาติของพืชแต่ละชนิดที่เราปลูกว่าพืชที่เราปลูกชอบแบบไหน เช่นมะละกอ มะนาวไม่ชอบน้ำ เราก็อย่าให้น้ำเขามากไป ถ้าให้น้ำมากเกินไปรากก็จะเน่า ใบก็จะเหลือง โรคต่าง ๆ ตามมามากมาย ความเป็นกรดเป็นด่างของพืชแต่ละชนิดที่เราปลูกเขาต้องการประมาณไหน เช่นมะละกอเขาต้องการ 6-7 เราก็ต้องปรับปรุงดินให้มีความเป็นกรดเป็นด่างของดินใกล้เคียงหรืออยู่ในช่วงนี้

ความรักเป็นสิ่งสำคัญ อย่าปลูกพืชเพื่อหวังผลประโยชน์ตอนเก็บผลผลิต แต่จงใส่ใจตั้งแต่ต้นพืชต้นเล็ก ๆ ดูแลเอาใจเขาเหมือนเราเลี้ยงลูก แม่สอนผมว่า " ให้รักต้นไม้ทุกต้นที่ปลูก เหมือนที่แม่รักลูก"


วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคลื่อนที่จากวัชพืช

โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคลื่อนที่จากวัชพืช


หน้าฝนนี้หญ้ารกใช่ไหม เรามาทำโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์กันเถอะ 
มันเป็นพื้นฐานที่ง่ายมาก ๆ สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์
ถ้าใครมาเยี่ยมที่ชมรมฯ จะเห็นเจ้าตัวนี้วางกระจายไปทั่วบริเวณหลายตัวเลยทีเดียว                           ตรงไหนที่เราปลูกพืช ตรงนั้นก็จะมีโรงงานปุ๋ยเคลื่อนที่กระจายตัวอยู่
มันช่วยเปลี่ยนหญ้ารก ๆ ให้เป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยปรับปรุงดินที่เยี่ยมยอดมาก ๆ
หลังจากหมักประมาณ 30-45 วัน เราก็ได้ปุ๋ยชั้นยอดไว้ใส่ต้นไม้ไว้ปรับปรุงดินแล้วครับ


การทำปุ๋ยหมักเคลื่อนที่ : ให้นำหญ้าหรือวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลงใส่ในโรงงานปุ๋ยให้เกือบเต็มจากนั้นนำขึ้วัวนม 1 กระสอบเททับหน้าแล้วเอา ไวท์อีเอ็ม 500 ซีซี. ลิตรผสมน้ำ 50 ลิตรใส่บัวรดน้ำราดบนกองปุ๋ยแล้วเอาเศษหญ้าปิดหน้า  รดน้ำทุกวันเช้า-เย็น เป็นเวลา 30-45 วัน 


ประโยชน์ของโรงงานปุ๋ยหมักเคลื่อนที่
1.    เปลี่ยนหญ้ารก ๆ ให้กลายเป็นปุ๋ยชั้นยอด
2.    นำปุ๋ยที่ได้จากการหมักประมาณ 1 เดือนไปใส่ต้นไม้
3.    นำปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักประมาณ 1 เดือนไปปรับปรุงดิน
4.    นำปุ๋ยหมักไปผสมดินปลูก ต้นกล้าจะงอกงามดีมป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าไปในตัว
5.    ช่วยลดต้นทุนการผลิตพืช ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี

 วิธีการใช้ และอัตราการใช้ปุ๋ยหมักเคลื่อนที่



-      สำหรับพืชไร่ พืชผัก ใช้ 2-3 กำมือ โรยบริเวณโคนต้น แล้วพรวนดินกลบปุ๋ยหมัก
-      สำหรับไม้ยืนต้น ให้ขุดหลุม 1  หน้าจอบแล้วใส่ปุ๋ยหลุมละ ½ กิโลกรัม ใน 4 ทิศ หรือหว่านรอบทรงพุ่ม 2-3 กิโลกรัมแล้วพรวนดินกลบปุ๋ย
-      สำหรับผสมดินปลูกพืช ใช้ปุ๋ยหมักเคลื่อนที่ ปลูกพืชกระถางแบบไร้ดิน





ขั้นตอนทำโรงงานปุ๋ยอินทรีย์แบบง่าย ๆ ดังนี้



1.ไปตัดไม้ไผ่ หรือไม้กระถิน มาทำเสาหลัก 4 ต้น ความสูง 1.5เมตร
2. เชื่อมเสา 4 ต้น ด้วยไม้ความยาว 70 เซ็นติเมตร 4 ทิศ ให้ทำ 3 ช่วง แต่ละช่วงห่างกัน 45 เซ็นติเมตร
3.นำแสลน ขนาด 80 เปอร์เซ็นต์ มาหุ้ม
แค่นี้โรงงานปุ๋ยอินทรีย์เคลื่อนที่เอนกประสงค์ก็พร้อม ทำการผลิตปุ๋ยได้แล้ว


ไม่สงวนลิขสิทธิ์ทั้งภาพและบทความ  คัดลอกไปทำกันได้เลยครับ

ไวท์อีเอ็ม  เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์สีขาว  ทำวัชพืชให้เป็นปุ๋ยหมักโดยไม่ใช้กากน้ำตาล
ขนาด 1 ลิตร 300 บาท โปรโมชั่น ซื้อ 2 ลิตรแถม 1 ลิตร                                                                          
สั่งซื้อ
ติดต่อ ชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า
โทร 0860596790
ID line : aoacthai
E-mail : pranpha@gmail.com


หมายเลขบัญชีชำระค่าสินค้า


123-2-45945-6 ธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์
ชื่อบัญชี ประยงค์ แก้วหมุน
การจัดส่งสินค้า
จัดส่งทางไปรษณีย์ EMS ทั่วประเทศ ระยะเวลาการจัดส่ง 1-2 วัน


วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อินทรีย์วัตถุ (organic matter)


"ผมใส่ปุ๋ยไปไร่ละตัน ทำไมมันสำปะหลังผมมันไม่ค่อยลงหัวเลยครับ 1ปีผ่านไป ถอนออกไปขาย หัวมันผมยังกับ ตัวไส้เดือน " มันขาดอะไรหรือครับอาจารย์" เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง คนขนยัน ถามผม
ผมก็เลยย้อนกลับไปว่า สงสัยจะขาดน้ำครับ ปีนี้ประเทศไทยแล้งจัด " ไม่เลยครับอาจารย์ผมปลูกมันน้ำหยด ให้มันกินทุกอย่าง ปุ๋ยก็ให้ น้ำก็ไม่ขาด ต้นโตดีแท้ แต่หัวไม่มี " พาผมไปดูแปลงมันที่ถอนแล้วได้ไหม ผมบอก
ไปถึงแปลงเกษตรกร ผมตอบเขาทันทีว่า ดินพี่ขาดอินทรีย์วัตถุ (organic matter) เพราะผลจากการวัดค่าดิน มีค่าความเป็นกรดสูงมาก ดินแข็งกระด้าง ราดน้ำยังไม่ค่อยจะลงเลย
อินทรีย์วัตถุคืออะไร มีขายที่ไหน กระสอบละกี่บาท ผมจะซื้อมาใส่ เกษตรกรคนเก่ง โยนคำถามใส่ผมทันที
วันนี้มารู้จักอินทรีย์วัตถุกันนะครับ
อินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวของ เศษซากพืชและสัตวที่ทับถมกันอยูในดิน อินทรียวัตถุมีปริมาณธาตุอาหารพืช อยู่น้อย แต่มีความสำคัญในการทำใหดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและถายเท อากาศไดดี ทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน
ปริมาณอินทรย์วัตถุในดินที่พืชส่วนใหญ่ต้องการ คือ 3-5 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันดินที่ใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย มีอินทรีย์วัตถุในดินไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์
ประโยชน์ของอินทรีย์วัตถุ พูดกันให้ชัด ๆ ว่ามันประโยชน์อย่างไร คำถามนี้คงเป็นคำถามที่หลายคนอยากถามผม ผมก็ตอบชัด ๆ ว่า พืชกินอาหารโดยการแลกเปลี่ยนอิออน ไม่ได้กินสารประกอบ อินทรีย์วัตถุมีประจะเป็นลบมีหน้าที่จับประจุบวก ถ้าไม่มีอินทรีย์วัตถุ(ประจุลบ) ธาตุอาหารพืชที่เป็นประจุบวก พืชก็นำไปใช้ได้น้อย หรือ นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย
ยุ่งละสิ ถ้าหลายคนพอมีความรู้เรื่องเกษตรอยู่บ้าง ก็คงพอสรุปได้ว่า พืชต้องการธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง คือ N P K Ca Mg S ธาตุอาหารเหล่านี้แตกตัวเป็นอิออนให้ประจุบวกหมดเลย ยกเว้น ไนโตรเจน เมื่อไม่มีตัวจับประจุบวก พืชก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยเคมีที่เราใส่ลงไปในดินได้เลย ใช้ได้แต่ไนโตรเจน มันสำปะหลังก็เลยโตแต่ต้น แต่ไม่ลงหัว
มาถึงตรงนี้คงพอจะเห็นประโยชน์ของ อินทรีย์วัตถุกันแล้วนะครับ อินทรีย์ที่พืชขาดมานาน พืชไม่ได้ขาดปุ๋ย แต่พืชขาด อินทรีย์วัตถุ อินทรีย์วัตถุมีประสิทธิภาพในจับอิออนของปุ๋ยให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้
ฉนั้นเมี่อรู้อย่างนี้เรามาเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ลงสู่ดินให้พืชกันเถอะ อินทรีย์วัตถุเอามาจากไหน มูลสัตว์ทั้งปวงคืออินทรีย์วัตถุ ซากพืช เปลือกไม้ ใบไม้ เศษหญ้า คืออินทรีย์วัตถุ

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช

เป็นรูปภาพโครงสร้างที่อยู่ในใจทุกครั้งเวลาผมจะทำการปลูกพืช ผมอยากให้ภาพนี้ติดอยู่ในใจของเกษตรกรทุกท่านที่จะทำการปลูกพืช ถ้าเราไม่เข้าใจความต้องการเบื้องต้นของพืชแล้ว การปลูกพืชทุกครั้งของเราก็จะประสบกับปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่นปลูกแล้วพืชไม่โต ปลูกพืชแล้วอ่อนแอ ขี้โรค ปลูกพืชแล้วโตแต่ต้นไม่ได้ผลผลิต หรือ ได้ผลผลิตแล้วแต่รสชาติไม่อร่อยไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
เรามาเรียนรู้เรื่องดินกันบ้างนะครับ ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชให้เจริญเติบโตได้ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
องค์ประกอบของดิน ที่ปลูกพืชแล้ว พืชเจริญเติบโตได้ดี ต้องประกอบด้วย 4 สัดส่วนที่สมดุลซึ่งกันและกันดังนี้
(1) อนินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่ได้จากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช ดินส่วนใหญที่ใช้ปลูกพืชในประเทศไทย มีอนินทรียวัตถุเป็นสวนประกอบถึงรอยละ 97-99 ของน้ำหนักแห้งของดิน
(2) อินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวของ เศษซากพืชและสัตวที่ทับถมกันอยูในดิน อินทรียวัตถุมีปริมาณธาตุอาหารพืช อยูน้อย แตมีความสำคัญในการทำใหดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและถายเท อากาศไดดี ทั้งยังเป็นแหลงพลังงานของจุลินทรีย็ดิน ดินสวนใหญที่ใชเพาะปลูกพืชในประเทศไทยมีอินทรียวัตถุเหลืออยู่น้อยมากๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งดินใน ภาคอีสาน มีอินทรียวัตถุต่ำมาก ไม่ถึงถึง 1เปอร์เซ็นต์ ฉนั้นเกษตรกรจึงควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
(3) น้ำในดิน ทำหน้าที่ ช่วยละลายธาตุอาหารพืชในดิน และจำเป็น สำหรับใช้ในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร และสารประกอบตางๆ ในต้นพืช
(4) อากาศในดิน ทำหน้าที่ให้ ออกซิเจนแก่รากพืชและจุลินทรียดิน ช่องว่างอากาศในดินมีส่วนทำให้ดินโปร่ง ร่วน ซุย รากพืชเจริญเติบโตได้ดี
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วว่า พืชต้องการดินแบบใด เราก็นำความรู้นี้มาปรับปรุงดินเพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าเราจะปลูกพืชลงดิน เราจะปลูกพืชลงกระถาง ปลูกพืชในวงบ่อ
ซึ่งโอกาสต่อไปเราจะได้มาเรียนรู้เรื่องการปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการปลูกกันต่อนะครับ

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การขยายเชื้อน้ำหมักรำข้าวให้ได้ใช้นาน ๆ

การขยายเชื้อน้ำหมักรำข้าวให้ได้ใช้นาน ๆ


 หลังจากเราทำน้ำหนักรำข้าวครบกำหนด 15 วัน แล้วเราก็นำไปใช้ราดโคนต้นพืชเพื่อช่วยในการขยายรากพืชแล้ว เราไม่ควรใช้จนหมดถัง เพื่อส่วนที่เหลือจะได้นำมาขยายเชื้อเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้อีก เช่น เราทำน้ำหมักรำข้าวถัง 200 ลิตร ให้เราใช้ไป 150 ลิตร อีก 50 ลิตรให้เก็บไว้ต่อขยายเชื้อต่อ

วิธีการต่อขยายเชื้อน้ำหมักรำข้าว

1.ใช้น้ำหมักรำข้าวเก่าเป็นสารตั้งต้น 30-50 ลิตร
2.ให้เติมรำข้าวลงไป 1-2 กิโลกรัม

3.เติมน้ำให้เต็ม 200 ลิตร

4. ใช้ไม้คนเพื่อเติมอากาศ ทุก 3 วัน (ถ้าคนทุกวันก็จะย่อยสลายและเชื้อขยายเร็ว)

5. ใช้เวลา 7-10 ก็นำไปใช้ต่อได้ ให้สังเกตรำข้าวถูกย่อยสลายจนหมด

วิธีการใช้ :ใช้เหมือนกับน้ำหมักรำข้าวรอบแรก

1.ใช้อัตราเข้มข้นราดดินแล้วรดน้ำให้ชุ่มตามบริเวณโคนต้นพืชเพื่อขยายรากพืช อัตรา 1-5 ลิตรตามขนาดของพืช

2.ใช้อัตราเข็มข้นราดลงถุงเพาะชำกล้าไม้ 250 ซีซี.แล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม

3. อัตรา 100-200 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงดินให้พืชผัก จะทำให้ พืชผักเจริญเติบโตดี

หมายเหตุ : น้ำหมักรำข้าวมีวิตามินบี1สูง สำหรับพืช วิตามินบี1 (Thiamine) ช่วยฟื้นฟูู บำรุงระบบรากพืชให้แข็งแรง และยังช่วยในการแตกราก และเจริญเติบโตของราก เมื่อพืชได้รับวิตามินบี1 จะทำให้พืชสดชื่น พร้อมที่จะเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายต้นกล้าพืช การให้ วิตามินบี1แก่ต้นกล้าที่ย้ายปลูกลงแปลงจะทำให้ต้นกล้าไม่เหี่ยวเฉาและทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี
ไปต่อเชื้อใช้เองกันนะครับจะได้ประหยัด

ขอบคุณภาพแห่งความขยัน การต่อขยายเชื้อน้ำหมักจากรำข้าวของน้องไพโรจน์(หมู) เกษตรกรผู้มีความคิดก้าวไกลจาก อ.ป่าบอน จ.พัทลุง
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ID line : aoacthai


สูตรการทำน้ำหมักรำข้าว                                                                   http://aoacthai.blogspot.com/2016/01/blog-post.html